ส่วนประกอบของรังนก ของ รังนก (อาหาร)

จากรายงานการสำรวจโภคกิจเมื่อปี พ.ส. พ.ศ. 2473-2474 ของ ดร. คาร์ล ซี. ซิมเมอร์แมน ศาลาแยกธาตุ กระทรวงเศรษฐการ ได้รายงานผลการวิเคราะห์ส่วนประกอบของรังนกจากจังหวัดชุมพร พบว่า มีเถ้าปูนอยู่เป็นจำนวนมาก โปรตีน ร้อยละ 49.8 ความชื้นร้อยละ 16.3 และไขมันร้อยละ 0.06 ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2479 บริษัทไทยรังนก ถนนราชวงศ์ กรุงเทพฯ ได้ส่งรังนกให้นักเคมีชาวเยอรมันวิเคราะห์ พบว่ารังนกมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบหลักร้อยละ 53.69 ความชื้นร้อยละ 10.4 ในปี พ.ศ. 2545 กรมวิทยาศาสตร์บริการได้นำรังนกถ้ำจากบริษัทรังนกแหลมทองสยาม ซึ่งได้รับสัมปทานการเก็บรังนกในจังหวัดภาคใต้มาวิเคราะห์ส่วนประกอบอื่นเพิ่มเติม ผลแสดงไว้ในตารางที่ 1 ดังนี้ [3]

หน่วย*รังนก รังสีขาว**รังนก รังสีแดง***รังนก รังสีแดง
ความชื้นร้อยละ17.818.218.1
คาร์โบไฮเดรต (โดยการคำนวณ)ร้อยละ22.322.721.0
โปรตีนร้อยละ52.856.956.6
ไขมันร้อยละไม่พบไม่พบไม่พบ
เถ้าร้อยละ7.038.0810.2
กากร้อยละ0.080.080.07
โซเดียมมิลลิกรัม/100กรัม1 572.11 282.51 182.9
โพแทสเซียมมิลลิกรัม/100กรัม11.528.760.1
แคลเซียมมิลลิกรัม/100กรัม814.01 569.42 115.2
ฟอสฟอรัสมิลลิกรัม/100กรัม9.048.5013.8
เหล็กมิลลิกรัม/กิโลกรัม11.736.856.3
ทองแดงมิลลิกรัม/กิโลกรัม3.813.815.48
สังกะสีมิลลิกรัม/กิโลกรัม1.602.582.71
ตะกั่วมิลลิกรัม/กิโลกรัมไม่พบ0.04ไม่พบ
สารหนูมิลลิกรัม/กิโลกรัม0.070.070.21
แมงกานีสมิลลิกรัม/กิโลกรัม1.4711.65.51